วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended learning)

การเรียนรู้แบบผสมผสานไม่ใช่เพียงการผสมรวมกัน แต่เรายังสามารถเรียนรู้ได้โดยเทคโนโลยีต่างๆ ที่มีขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้เด็กสนใจเรียนมากขึ้น แต่การเรียนแบบนี้เราควรจะต้องคำนึงถึงผลเสียที่จะตามมาด้วยเพราะว่าถ้าเราสอนแบบเทคโนโลยีก็ควรจะป้แงกันไม่ให้เด็กทำอะไรที่ผิดควรจะดูอย่างห่างๆ และควรเน้นผู้เรียนเป็นหลัก

แหล่งที่มา  http://kunkoopagone.blogspot.com/2011/05/blended-learning.html

วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

  การศึกษาความหมาย หลักการ วิวัฒนาการของการประถมศึกษา การจัดการประถมศึกษาของและ แนวคิดในการจัดหลักสูตรระดับประถมศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา การประกันคุณภาพโรงเรียนประถมศึกษา บทบาทหน้าที่ บุคลิกภาพและคุณลักษณะที่ดีของครูประถมศึกษา สภาพปัญหาและแนวทางแก้ไข ตลอดจนแนวโน้มของการประถมศึกษา ในการศึกษาในเนื้อหาดังกล่าวที่ผ่านมา แนวทางในอนาคตของการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษาไทยในอนาคต ท่านคิดว่าครูประถมศึกษาในอนาคตควรมีทิศทางอย่างไร
ตอบ 
     ครูในอนาคตของดิฉันคือจากที่ครูได้เปลี่ยนจากการบรรยายหน้าชั้นเรียนเพียงอย่างเดียวมาเป็นการกล่าวนำเข้าสู่บทเรียนเพื่อให้ความรู้เพิ่มมากขึ้น  และทำหน้าที่เป็นเพียงผู้แนะนำ ให้คำปรึกษา และแก้ปัญหาให้แก่ผู้เรียน จึงเกิดวิธีการสอนที่หลากหลายมากขึ้นและบทบาทต่อระบบการศึกษาทั้งในและนอกระบบในการใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุดและสร้างความมั่นใจให้แก่เด็กหรือผู้เรียนนั้นเองค่ะ

วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ถอดความรู้ครั้งที่ 1 นักศึกษาการประถมศึกษาในรายวิชา การออกแบบพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา

4. คอมโพเน้นท์ โมดูล ปลักอิน 
- พิจารณาเลือกและการติดตั้งด้วยเหตุผลใดในเว็บไซต์เพื่อการเรียนการสอน

ตอบ ในการพิจารณา เลือกคอมโพแน้นท์ โมดูล ปลั้กอิน ต่างๆ ต้องพิจารณาจากเนื้อหาและรายละเอียดของเว็บไซต์เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับเนื้อหาที่จะทำการสอนและในการติดตั้งส่วนเสริมจะมีประโยชน์และความสะดวกสบายต่อผู้เข้าชมเว็บไซต์ เช่น ถ้าเราใช้โมดูล สถิติผู้เข้าชม เหตุผลเพราะว่าเราจะได้ทราบความเคลื่อนไหวของเว็บไซต์ว่ามีผู้เข้าชมเว็บไซต์จำนวนเท่าไร แบบทดสอบ เพราะว่าจะได้ทดสอบความรู้หลังการเข้าชมเว็บไซต์ รูปภาพกิจกรรม เพราะว่าจะได้รู้ความเคลื่อนไหวของเว็บไซต์ เป็นต้น 

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ความหมายของรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry)

ความหมายของรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้  (Inquiry)


การสอนแบบสืบเสาะแสวงหาความรู้ การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ สามารถพัฒนาผู้เรียนให้กล้าคิด กล้าทำ กล้าซักถาม กล้าโต้แย้ง กล้าแสดงออก รู้จักคิดวิเคราะห์ มีความคิดหลากหลาย มีจิตวิทยาศาสตร์ บรรยากาศการเรียนการสอนดี เป็นบรรยากาศการเรียนรู้อย่างอิสระและสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เอื้อให้ผู้เรียน กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก และพัฒนากระบวนการคิด พบว่าผู้เรียนมีความพึงพอใจในกระบวนการเรียนรู้แบบนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้เรียนได้ทำการทดลอง และมีการอภิปรายซักถาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสามารถโต้แย้งกันได้ นอกจากนี้ผู้เรียนยังมีเจตคติที่ดีต่อโครงการวิจัยนี้ว่า ดีใจและภูมิใจที่ได้เข้าร่วมโครงการ ต้องการให้มีโครงการนี้ต่อไป ควรให้ทุกโรงเรียนละทุกวิชาจัดการเรียนการสอนแบบนี้ และควรเริ่มตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาเด็กไทยจะได้กล้าคิดกล้าแสดงออก มีความรู้หลากหลาย ซึ่งจะทำให้การศึกษาไทยได้พัฒนายิ่งขึ้น

โดยมีขั้นตอน 5 ขั้นตอนดังนั้
ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ
ขั้นที่ 2 สำรวจและค้นหา
ขั้นที่ 3 อธิบายและลงข้อสรุป
ขั้นที่ 4 ขยายความรู้
ขั้นที่ 5 ประเมิน